Tumgik
intoxic-th · 6 years
Text
ปรสิตในอาหาร
ใครคิดว่า "พยาธิ" ไม่น่ากลัว ขอให้เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ นั่นเพราะสิ่งมีชีวิตที่แฝงอยู่ในร่างกายมนุษย์อย่าง "พยาธิ" นั้น อาจทำร้ายมนุษย์ถึงแก่ชีวิตได้เลย ถ้ารักษาไม่ทันกาลจนมันเข้าไปชอนไชอวัยวะสำคัญของร่างกาย เพราะฉะนั้น เราต้องมารู้จัก "พยาธิ" เพื่อรับมือกับมัน ก่อนที่มันจะทำร้ายเรา "พยาธิ" คืออะไรกัน?          พยาธิ คือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ปรสิต" เพราะต้องอาศัยอยู่ในร่างกายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น อย่างมนุษย์ และสัตว์ เพื่อดำรงชีพ โดยมันมีขนาดเล็กมาก จะคอยดูดเลือด และแย่งอาหารจากสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ ทั้งนี้ พยาธิมีมากกว่า 3,000 ชนิด บางชนิดอาจแค่แย่งดูดซึมอาหารจากร่างกายคนและสัตว์เท่านั้น แต่บางชนิดก็อาจทำให้เกิดพยาธิสภาพรุนแรงถึงชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
Tumblr media
มารู้จักและป้องกัน เหล่าพยาธิก่อโรค          จริง ๆ แล้ว พยาธิที่ก่อให้เกิดโรคมีหลายชนิด แต่เราจะมารู้จักกับ "พยาธิ" ที่พบได้บ่อยในร่างกายมนุษย์ พร้อมทั้งวิธีป้องกัน เชื่อว่า พยาธิเหล่านี้ทุกคนรู้จักกันดี พยาธิตัวกลม          เป็นพยาธิที่มีลักษณะรูปร่างทรงกระบอก หัวท้ายเรียวแหลม ตัวอย่างเช่น
Tumblr media
- พยาธิไส้เดือนตัวกลม          เป็นพยาธิที่อยู่ในลำไส้เล็กของสิ่งมีชีวิต มี 2 เพศ คือ ตัวผู้กับตัวเมีย โดยตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 200,000 ฟอง และจะหลุดออกมาพร้อมกับอุจจาระ โรคนี้มักพบในเด็กที่นำเอามือที่ปนเปื้อนเข้าปาก และมักพบแพร่กระจายในเขตภาคใต้มากกว่าภาคอื่น เพราะเป็นภาคที่มีอากาศชุ่มชื้นตลอดปี          สำหรับคนที่เป็นโรคพยาธิไส้เดือนนั้น อาจจะรู้สึกเป็นไข้ ไอ หายใจแน่น หอบเหนื่อย บางคนอาจเกิดลมพิษ ซึ่งเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดจากพยาธิตัวอ่อนกำลังเดินทางจากลำไส้ไปที่ปอด แต่หากมีพยาธิในลำไส้มาก ๆ มันจะไปอุดตันทางเดินลำไส้ หรือถุงน้ำดี ทำให้รู้สึกปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ตับอ่อนอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบได้ เวลาถ่ายอุจจาระออกมาจะพบตัวกลม ๆ ยาว ๆ คล้ายไส้เดือนปนมาด้วย หากใครมีอาการเช่นนี้ ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยให้ชัดเจน และจะได้ทำการรักษาโดยใช้ยาต่อไป          การป้องกันโรคพยาธิไส้เดือนตัวกลม ก็คือ ไม่ถ่ายอุจจาระลงบนดิน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน เพราะอาจมีไข่พยาธิปะปนอยู่ อย่างไรก็ตาม ต้องดูแลสุขอนามัยให้สะอาด ล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกวิธีก่อนรับประทานอาหาร หรือทำอาหาร และหากซื้อผักผลไม้มาก็ควรล้างให้สะอาดจริง ๆ เพื่อป้องกันไข่พยาธิที่ปะปนมาด้วย
Tumblr media
- พยาธิเส้นด้าย หรือ พยาธิเข็มหมุด          เป็นพยาธิที่มีขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก เมื่อตัวผู้กับตัวเมียผสมพันธุ์กันจะออกไข่ออกมาปะปนกับอุจจาระ เมื่อตัวอ่อนตกสู่พื้นดินจะเจริญเติบโตเป็นระยะติดต่อ สามารถไชผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งบางครั้ง พยาธิพวกนี้อาจจะไปเจริญเติบโตในปอด หัวใจ ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้เลยทีเดียว          โรคพยาธิชนิดนี้ พบได้บ่อยในเด็กเล็ก วิธีสังเกตก็คือ มักจะมีอาการคันก้นในตอนกลางคืน เนื่องจากพยาธิตัวเมียมักจะคลานออกมาจากลำไส้ใหญ่ เพื่อมาวางไข่อยู่รอบ ๆ ก้น จึงทำให้รู้สึกระคายเคือง ซึ่งพยาธิชนิดนี้สามารถติดต่อกันได้ภายในบ้านด้วย เพราะเป็นพยาธิที่มีน้ำหนักเบา และเล็กมาก สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้ใหญ่ผ่านทางอากาศได้          การป้องกันทำได้โดยสวมรองเท้าให้เรียบร้อย ไม่เดินเท้าเปล่าบนพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิชอนไชเข้าสู่ผิวหนัง นอกจากนี้ ยังต้องรู้จักการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และดูแลรักษาความสะอาดของตัวเองด้วย
Tumblr media
- พยาธิตัวจี๊ด          เป็นพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งที่สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ หากรับประทานสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์จำพวกนก หรือพวกปลาน้ำจืดที่ไม่ปรุงสุก เช่น เนื้อปลา กบ ไก่ เป็ด หรือดื่มน้ำที่อาจมีกุ้งไรปะปนอยู่ นอกจากนี้ อาจติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยไชผ่านทางรกได้          ทั้งนี้ เมื่อตัวอ่อนระยะที่ 3 เข้าสู่ร่างกายแล้ว มันจะชอนไชเคลื่อนที่ไปตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้อวัยวะนั้นเกิดอาการบวม ปวดจี๊ด ๆ และคัน เห็นเป็นรอยแดง ๆ ตามแนวที่พยาธิไชไป โดยจะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วจะหายไปเอง แม้ไม่ได้รับการรักษา แต่หลังจากนั้น รอยแดงก็อาจบวมขึ้นมาใหม่ในบริเวณอื่นใกล้ ๆ กัน ที่น่ากลัวก็คือ มันอาจชอนไชไปยังอวัยวะอื่นที่สำคัญได้ เช่น หากไปที่สมองก็ทำให้สมองอักเสบได้          การป้องกันโรคพยาธิตัวจี๊ดก็คือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว โดยเฉพาะเนื้อปลา ไก่ เป็ด กบ
Tumblr media
- พยาธิปากขอ          มีลักษณะเป็นทรงกระบอกเรียวยาว คล้ายเส้นด้ายสั้น ๆ ตัวแก่จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก มีเขี้ยวแหลมเกาะผนังลำไส้ เพื่อดูดกินเลือดและน้ำเลี้ยงจากลำไส้ ไข่ของพยาธิจะหลุดปนออกมากับอุจจาระ หากตกลงบนพื้นดินก็สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน แล้วไชผ่านเข้าผิวหนังของมนุษย์ เช่น ง่ามเท้า เข้าไปอาศัยอยู่ในปอด หลอดลม คอหอย หรือถูกกลืนลงไปในกระเพาะอาหารได้อีก          วิธีสังเกตว่าเป็นโรคพยาธิปากขอหรือไม่ ให้ดูว่ามีอาการคัน เป็นผื่นแดง และอักเสบเป็นตุ่มแดงตามง่ามเท้า หรือผิวหนังหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วอาการพวกนี้มักจะหายในเวลาไม่นาน แต่รอยแดงที่เป็นทางเดินของพยาธิอาจปรากฏอยู่นานถึง 2 สัปดาห์ หากตัวอ่อนเข้าสู่กระแสโลหิตไปจนถึงปอดแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการหลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบ เป็นไข้ ไอเล็กน้อย แต่เมื่อพยาธิเดินทางไปสู่ลำไส้ อาการที่เกิดจากปอดจะหายไป ผู้ป่วยจะมีอาการที่ลำไส้แทน คือ เยื่อบุผนังลำไส้อาจฉีกขาด และเกิดแผล รู้สึกปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย นอกจากนี้ อาจสังเกตเห็นผู้ป่วยมีใบหน้าซีดเซียว เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากพยาธิจะดูดเลือดออกไป          การป้องกัน ทำได้โดยสวมรองเท้าที่มิดชิด เพื่อป้องกันตัวอ่อนระยะติดต่อไชผ่านผิวหนัง หลีกเลี่ยงการถ่ายอุจจาระลงดิน ใช้ส้วมอย่างถูกสุขลักษณะ รวมทั้งไม่ใช้อุจจาระเป็นปุ๋ยรดผัก และที่สำคัญ ควรรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่สะอาด พยาธิตัวแบน หรือ พยาธิตัวตืด          เป็นพยาธิที่มีลำตัวแบน แบ่งเป็นปล้อง ๆ เช่น พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว ซึ่งพยาธิเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
Tumblr media Tumblr media
- พยาธิตืดหมู/พยาธิตืดวัว          เป็นพยาธิตัวแบน สีขาวขุ่น ลักษณะเส้นแบนคล้ายข้าวซอย เส้นบะหมี่ มีความยาวหลายเมตร เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้จากการทานเนื้อหมู หรือเนื้อวัวที่ปรุงไม่สุก หรือการดื่มน้ำ การทานผัก ผลไม้ ที่มีไข่พยาธิปนอยู่ โดยพยาธิตืดหมูจะอันตรายกว่าพยาธิตืดวัว เพราะไข่พยาธิตืดหมูจะไปโตเป็นระยะตัวอ่อนเม็ดสาคูในร่างกายคน แล้วไปอาศัยอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งหากไปอยู่ในอวัยวะสำคัญ ๆ เช่น สมอง ไขสันหลัง ก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือถ้าไปอยู่ในตาก็อาจทำให้ตาบอดได้          ทั้งนี้ พยาธิในลำไส้จะไปแย่งอาหารของมนุษย์ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหิวบ่อย แต่ผอมลง น้ำหนักลง แม้กินจุ รู้สึกปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน หรืออุจจาระบ่อย เพราะลำไส้ระคายเคือง วิธีป้องกันคือ ไม่ทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ดื่มน้ำที่ต้มสุกแล้ว ล้างผัก ผลไม้ อาหารสดทุกอย่างให้สะอาด รวมทั้งล้างมือทุกครั้งเมื่อเข้าห้องน้ำแล้ว          ในประเทศไทยพบผู้ป่วยพยาธิตัวตืดมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะชาวบ้านชอบทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และพบผู้ป่วยโรคพยาธิตืดวัวมากกว่าพยาธิตืดหมู พยาธิใบไม้          เป็นพยาธิที่มีลำตัวแบน ไม่แบ่งเป็นปล้อง ติดต่อได้ง่ายจากการบริโภคอาหารประเภทปลาและสัตว์น้ำจืด ในลักษณะดิบ หรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ที่รู้จักกันดีก็คือ พยาธิใบไม้ตับ
Tumblr media
- พยาธิใบไม้ตับ          เป็นพยาธิตัวเต็มวัยของพยาธิที่อาศัยอยู่ในทางเดินน้ำดี รูปร่างคล้ายใบหอก ผิวลำตัวเรียบ ยาว 1.0-2.5 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร มีลำตัวบางแบนและโปร่งแสง ในตัวจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งเพศผู้และเพศเมีย อาศัยอยู่ในท่อทางเดินน้ำดีของสิ่งมีชีวิต เมื่อออกไข่ ไข่จะปนออกมากับอุจจาระ หากไข่ตกลงสู่น้ำจะถูกหอยน้ำจืดขนาดเล็กกินเข้าไป และเมื่อปลาน้ำจืดมาทานหอยนั้น ก็จะมีพยาธิตกค้างอยู่ในตัวปลา ซึ่งถ้าคนจับปลามารับประทานต่อโดยไม่ปรุงให้สุกก็จะได้รับพยาธิเข้าไปด้วย โดยพยาธิจะเข้าไปในท่อน้ำดีและเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย          ทั้งนี้ หากพยาธิเข้าไปในทางเดินน้ำดีแล้ว มันจะปล่อยสารบางอย่างออกมา ทำให้ทางเดินน้ำดีระคายเคือง เยื่อบุผนังท่อน้ำดีจะหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดพังผืด อาจเป็นนิ่ว ท่อน้ำดีอักเสบ หรือถุงน้ำดีอักเสบได้ หากป่วยด้วยโรคนี้บ่อยครั้งเข้า ก็อาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีได้เลย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการว่าเป็นพยาธิใบไม้ตับ เพราะบางคนอาจมีแค่อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นครั้งคราว หรือแค่ร้อนท้อง ยกเว้นใครที่มีพยาธิจำนวนมาก ก็อาจมีอาการเบื่ออาหาร ดีซ่าน ท้องมาน ท้องบวม ตับโต เป็นต้น          การป้องกันพยาธิใบไม้ตับ ทำได้โดยไม่รับประทานปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดโดยไม่ปรุงให้สุก เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาขาวน้อย ปลากระสูบ ปลาแก้มช้ำ ปลาสร้อย ปลากระมัง รวมทั้งไม่ถ่ายอุจจาระลงพื้นดิน หรือแหล่งน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่พยาธิตกลงไปในน้ำ การรักษา โรคพยาธิ          ใครมีอาการลักษณะดังที่กล่าวมาทั้งหมด หรือต้องสงสัยว่าอาจเป็นพยาธิ ก็ขอให้ไปพบแพทย์เพื่อความแน่ใจ โดยแพทย์จะทำการตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิให้ และจะได้ให้ยารักษา ซึ่งมียาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาพยาธิได้ และส่วนใหญ่ก็รักษาให้หายขาดได้ด้วย แต่ต้องป้องกันการติดโรคซ้ำสอง ยกเว้นโรคพยาธิบางชนิด เช่น พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มียาที่ให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ          อย่างไรก็ตาม ในรายที่มีพยาธิมาก หรือพยาธิไปอยู่ในอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น สมอง หรืออุดตันลำไส้ แพทย์ก็จะตัดสินใจใช้วิธีการผ่าตัดเอาพยาธิออกมา เพราะหากปล่อยไว้นาน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 
  ยาถ่ายพยาธิ ใช้ดีไหมนะ?          หลายคนเข้าใจว่า หากมีพยาธิก็ใช้ยาถ่ายพยาธิสิ ไม่เห็นยากอะไร ขอบอกว่า คุณเข้าใจถูกแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้ว ยาถ่ายพยาธิจะใช้ได้กับพยาธิที่อยู่ในลำไส้เท่านั้น แต่หากพยาธิเข้าไปอยู่ในอวัยวะส่วนอื่น ๆ การใช้ยาถ่ายพยาธิก็จะไม่สามารถช่วยได้          แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีพยาธิอยู่ในลำไส้หรือไม่? ก็ให้สังเกตว่า มีตัวพยาธิเวลาอาเจียน หรือถ่ายอุจจาระออกมาหรือไม่ หรืออาจตรวจอุจจาระแล้วพบไข่พยาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็สามารถใช้ยาถ่ายพยาธิได้ แต่ควรใช้ตามขนาดที่แนะนำ และที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้ยาถ่ายพยาธิในหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เป็นพยาธิตัวตืด ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนใช้ยา เพราะเป็นพยาธิที่อันตรายกว่าชนิดอื่น ๆ          สำหรับยาถ่ายพยาธิที่ทุกคนรู้จักกันดีคือ ยาถ่ายพยาธิขององค์การเภสัชกรรม หรือ ยาถ่ายพยาธิปิเปอราซีน (Piperazine Citrate Elixir) ซึ่งใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม หรือจะเป็น มีเบนดาโซล (mebendazole) มีชื่อทางการค้าว่า ฟูก��คาร์ (Fugacar), เบนดา (Benda), มีเบน (Meben), วอร์เมกซ์ (Wormex) มีทั้งประเภทน้ำ (100 มิลลิกรัมต่อช้อนชา) และชนิดเม็ด (100 มิลลิกรัม) สามารถใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย และพยาธิปากขอ          ทั้งนี้ ควรศึกษาการใช้ยาถ่ายพยาธิจากฉลาก หรือปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ทานยาถ่ายพยาธิบางคนอาจมีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ แต่ไม่มีผลข้างเคียงร้ายแรงอะไร แต่หากใครทานยาแล้วมีอาการลมพิษ ผื่นคัน แสดงว่าแพ้ยานี้ ควรเลิกทานทันที
Tumblr media
 หากไม่ต้องการเป็นโรคพยาธิ หรือใครที่เคยเป็นแล้ว ไม่อยากเป็นอีก ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อโรคพยาธิ มาดูกัน          1. เลือกทานอาหารที่สะอาด ใหม่ ปรุงสุกแล้ว          2. ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ รวมทั้งล้างมือทุกครั้งก่อน และหลังเตรียมอาหาร          3. สวมรองเท้าเสมอ เมื่อออกนอกบ้าน ไม่ควรเดินเท้าเปล่า เพราะอาจมีพยาธิไชเข้าผิวหนังโดยที่เราไม่รู้ตัว          4. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ควรถ่ายลงบนพื้นดิน หรือแหล่งน้ำ เพราะอาจทำให้พยาธิแพร่ไปยังที่อื่น ๆ ได้          5. ดูแลร่างกายให้มีสุขลักษณะที่ดี รักษาความสะอาดของร่างกาย ตัดเล็บให้สั้น เพื่อไม่ให้ไข่พยาธิที่อาจติดเล็บเข้าสู่ร่างกายทางปากได้          6. ล้างผักสด ผลไม้สด ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันไข่พยาธิที่อาจจะติดมา          เห็นไหมว่า เรื่องของ "พยาธิ" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย เพราะมันสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์เราได้ทุกเมื่อ โดยที่เราไม่รู้ตัวเสียด้วย เพราะฉะนั้น ดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี จะได้ไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องพยาธิยังไงล่ะ
0 notes
intoxic-th · 6 years
Text
ไส้กรอกหมู
ส่วนผสมหลัก หมูติดมัน 1 กิโลกรัม ไส้หมูล้างสะอาด 2 กิโลกรัม ข้าวเหนียวนึ่ง 170 กรัม เกลือ 15 กรัม กระเทียมสับละเอียด 80 กรัม * 30 grams = 1oz. , 1kilogram = 2.24 lbs. วิธีทำ
ล้างหมูทั้งชิ้นให้สะอาด หั่นแล้วนำไปบดให้ละเอียด
เคล้าหมูบดกับกระเทียม และเกลือ
ล้างข้าวเหนียว แช่น้ำอุ่นประมาณ 1 ชั่วโมง นึ่งให้สุก แล้วโขลกให้ละเอียดนำไปเคล้ากับหมูบด
กรอกส่วนผสมลงในไส้ มัดเป็นท่อนๆยาวประมาณท่อนละ 3 นิ้ว ผึ่งแดดไว้ประมาณ 1 วัน ถ้าต้องการให้เปรี้ยวให้ผึ่งแดดเพิ่มอีก 1 วัน
ทอด หรือย่างไฟอ่อน รับประทานกับพริกขี้หนูสด กระเทียม ขิงอ่อน
0 notes
intoxic-th · 6 years
Text
ขนมลูกชุบ
Tumblr media
ขนมลูกชุบเป็นศิลปะการทำขนมของคนไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ซึ่งปัจจุบันการทำขนมประเภทนี้เริ่มมีให้เห็นน้อยลงไปทุกวี่วัน เนื่องเป็นขนมที่ต้องใช้เวลาในการทำนาน ขั้นตอนค่อนข้างซับซ้อนยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการฝึกฝนนานแต่สำหรับผู้ที่มีพรสวรรค์บวกกับพรแสวงก็น่าจะทำได้ไม่ยากนัก เป็นที่น่าเสียดายที่ขนมลูกชุบบางแหล่งกลายเป็นขนมถั่วกวนปั้นก้อนกลมๆใหญ่ๆชุบสีเขียวสีแดงแล้วเคลือบวุ้นวางขายใส่ถาดโฟม ขนมลูกชุบ มีวิธีทำง่ายๆคือเครื่องปรุง- ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม, น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง, หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง, สีผสมอาหารสีต่างๆ ส่วนที่ชุบ- วุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ, น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง, น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง วิธีทำ1. ผสมถั่วบด น้ำตาลทราย กะทิ เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ 2. กวนด้วยไฟอ่อนๆ จนล่อนจับกันไม่ติดกระทะ3. พักถั่วกวนไว้ให้เย็น นำมาปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆตามต้องการ เสียบไม้ไว้4. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงบนขนมที่ปั้น โดยระบายเลียนแบบของจริง ทิ้งไว้ให้แห้งจึงนำไปชุบวุ้น5. ผสมวุ้นกับน้ำยกขึ้นตั้งไฟ ให้ละลายก่อนจึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยววุ้นจนข้น6. เอาขนมที่ปั้นแล้วเสียบไม้ ลงชุบวุ้นครั้งเดียวให้ทั่ว ทิ้งไว้จนแห้งแล้วชุบอีก ทำเช่นนี้ประมาณ 3- 4 ครั้ง จะชุบแต่ละครั้งต้องให้เย็น วุ้นแข็งตัวก่อนทุกครั้ง7. เมื่อวุ้นแข็งจึงเอาไม้เสียบออก ตกแต่งด้วยก้านและใบให้สวยงาม
0 notes
intoxic-th · 6 years
Text
ความเป็นมาของขนมไทย
ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ ประวัติความเป็นมาของขนมไทย            ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงามขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น            สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล  ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง  ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต การแบ่งประเภทของขนมไทยแบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ - ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม - ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่าม���กุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย- ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม ขนมไทยแต่ละภาคขนมไทยภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด[10] ขนมไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น ขนมไทยภาคอีสาน เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง [11]นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง) ขนมไทยภาคใต้ ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้นตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่1. ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง2. ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน3. ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน 4. ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น5. ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย6. ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย7. ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม8. ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย9. ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย10. ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น          ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ จนทำให้คนรุ่นหลังๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เ��ียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส  
Tumblr media
0 notes
intoxic-th · 6 years
Text
สำรับอาหารไทย
สำรับอาหารไทย
         อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็น
เอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมาจุดกำเนิดอาหารไทย อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้
สมัยสุโขทัย
         อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกและวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้งส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน
สมัยอยุธยา
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออกจากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่ายยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกงและคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติ ต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายที่ ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด
สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธย และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์  โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน [แก้] สมัยรัตนโกสินทร์ การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่ นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)
         อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรีแต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาวอาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม
         บทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิด ซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่น และรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทยจากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหาร คาวหรือกับข้าวและอาหารว่าง
         ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น                   นอกจากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้ง เรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้นทั้งชนิดของอาหารคาว และอาหารหวาน
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2394 – ปัจจุบัน)
         ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ                                                                                                                                        ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วน ประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย
0 notes
intoxic-th · 6 years
Text
ประวัติความเป็นมาของอาหารไทย
         อาหารไทย เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัวการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เหมือนกันผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทานอาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรส          อาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษ โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนัก โดยเฉพาะทุกครัวเรือนของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นพริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอม ตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหารจำพวกผัก และเนื้อสัตว์ นานาชนิด เพราะมีวิธีนำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่ อดีต อาทิ การนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือ ชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิด          วิธีปรุงอาหารไทยนั้นมีหลายวิธีดังนี้ การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วตำเข้าด้วยกันบางอย่างอาจตำเพื่อนำไปประกอบอาหารและบางอย่างตำเป็นอาหาร เช่น ปลาป่น กุ้งป่น น้ำพริกสด น้ำพริกแห้ง น้ำพริกเผา พริกกับเกลือ ส้มตำ          การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์และน้ำปรุงรสมาเคล้าเข้าด้วยกัน จนรสซึมซาบเสมอกัน ยำของไทยมีรสหลักอยู่ 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน สำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อยทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี ยำผัก เช่น ยำผักกระเฉด ยำถั่วพู ยำเกสรชมพู่ ฯลฯ ยำเนื้อสัตว์ เช่น ยำเนื้อต่างๆ ยำไส้กรอก ยำหมูยอ ฯลฯ                  การแกง หมายถึง อาหารน้ำ ซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียด นำมาละลายกับน้ำ หรือน้ำกะทิ ให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วย เช่นแกงส้ม แกงเผ็ด แกงคั่ว                  การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวาน ลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่น หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้ ฯลฯ         การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุกโดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง ( ตามแบบสมัยโบราณปิ้งด้วยเตาถ่าน มิได้ใช้เตาอบเหมือนปัจจุบัน                    การย่าง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางอาหารไว้เหนือไฟอ่อนๆ หมั่นกลับไปกลับมา จนข้างในสุกและข้างนอกอ่อนนุ่มหรือแห้งกรอบต้องใช้เวลานานพอสมควร จึงจะได้อาหาร ที่มีลักษณะรสชาติดี เช่น การย่างปลา ย่างเนื้อสัตว์ต่างๆ          การต้ม หมายถึง การนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุก ใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ เช่น การต้มไข่ ต้มผัก ต้มเนื้อสัตว์ ฯลฯ          การกวน หมายถึง การนำอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวมารวมกัน ตั้งไฟแรงปานกลางใช้เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งคนให้เร็วและแรงจนทั่วกัน คือข้นและเหนียว ใช้มือแตะอาหารไม่ติดมือ เช่น การกวนกาละแม ขนมเปียกปูน ตะโก้ ถั่วกวน ฯลฯ          จี่ หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยการทาน้ำมันน้อยๆ พอให้ทั่วกระทะแล้วตักอาหารใส่ กลับไปกลับมาจนสุกตามต้องการ เช่น การทำขนมแป้งจี่ ขนมบ้าบิ่น เป็นต้น          หลาม หมายถึง การทำอาหารให้สุกในกระบอกไม้ไผ่โดยใช้ไม้ไผ่สดๆ ตัดให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วบรรจุอาหารที่ต้องการหลามในกระบอกไม้ไผ่นั้น ก่อนหลามต้องใช้กาบมะพร้าวห่อใบตอง อุดปากกระบอกเสียก่อน แล้วนำไปเผาจนสุก เช่น การหลามข้าวหลาม ฯลฯ
0 notes
intoxic-th · 6 years
Text
สูตรน้ำสลัดน้ำข้น
ไข่แดง 2 ฟอง
เกลือป่น 2 ช้อนชา
พริกไทป่น 1/2 ช้อนชา
มัสตาร์ด 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 6 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชู 5 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันถั่วเหลือง 1 ถ้วย
วิธีทำ
นำส่วนผสมทุกชนิดยกเว้นน้ำมันพืชลงไปปั่นในเครื่องปั่น
ปั่นจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเป็นเนื้อเดียวโดยใช้ความเร็วสูงสุด
เมื่อปั่นจนเนียนละเอียดแล้ว ลดความเร็วของเครื่องปั่นลงจากนั้นให้ใส่น้ำมันลงไปโดยใส่ทีละนิดๆ เพื่อไม่น้ำมันกับครีมแยกชั้นกัน
เมื่อเทน้ำมันลงไปหมดแล้ว ตักใส่ชามรอให้ครีมเซตตัว จากนั้นก็นำไปทำสลัดผักได้เลยค่ะ
0 notes
intoxic-th · 6 years
Text
สูตร ปีกไก่ทอดน้ำปลา อร่อยจนต้องดูดนิ้ว
เมนูที่ต้องยอมไม่ว่าจะเป็นใครทั้งนั้นความอร่อยที่เรียกได้ว่าเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม เมนู ปีกไก่ทอดน้ำปลา ที่ทอดแห้งๆ กรอบๆ อร่อยเด็ดยันกระดูก แบบนี้ใครจะอดใจไหว ไปดูส่วนผสมอย่างง่ายกันเลยดีกว่า
สูตร ปีกไก่ทอดน้ำปลา อร่อยจนต้องดูดนิ้ว
Tumblr media
ส่วนผสม
ปีกกลางไก่ 1 กิโลกรัม
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
ผงปรุงรส 1 ช้อนชา
แป้งทอดกรอบ 1/4 ถ้วย
วิธีทำ
ล้างปีกไก่ให้สะอาด นำไก่ลงไปหมักกับน้ำปลาและผงปรุงรส หมักทิ้งไว้ 15 นาที
หมักเสร็จแล้วก็ตามด้วยแป้งทอดกรอบ คลุกให้เข้ากัน
ตั้งกระทะใส่น้ำมันรอให้น้ำมันเดือด แล้วนำไก่ลงไปทอดให้กรอบเหลือง
เสร็จแล้วตักขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน เสิร์ฟคู่กับซอสพริก
เรียบเรียงโดย Food MThai
0 notes
intoxic-th · 6 years
Link
Tumblr media
0 notes
intoxic-th · 6 years
Video
youtube
0 notes
intoxic-th · 6 years
Link
0 notes